ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันตราย...แต่รักษาหายได้

Print

ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันตราย...แต่รักษาหายได้

ทุกคนคงต้องเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อกันมาบ้าง เช่น ปวดคอ ไหล่ หลัง ขา ถ้าอาการหายได้เองภายในไม่กี่วันก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าปวดต่อเนื่องยาวนานและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า เป็นอาการ “ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง” ถ้าหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธี อาจทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นไปอีก และอาจมีโรคร้ายอื่นๆตามมาก็เป็นได้

 

       ปัจจุบัน มีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ สาเหตุเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. เรียกว่า “Trigger Point” หรือ จุดกดเจ็บที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด    

“อาการปวด ร้าวลึกๆของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลากดเจ็บ ความรุนแรงของการปวด มีตั้งแต่เริ่มรำคาญไปจนถึงทรมานจนไม่สามารถขยับบริเวณนั้นได้ บางกรณีมีอาการมือชาและขาชาร่วมด้วย บางรายถึงขั้นนอนไม่หลับ ขั้นเลวร้ายอาจลามไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเลยทีเดียว”

ปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเกิดจาก ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การออกกำลังกายผิดวิธีหรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป รวมถึงขาดการบริหารกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย

การรักษา มี วิธีรักษาที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” รักษาเพียงอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ทำประมาณ 4-6 ครั้ง เป็นการรักษาที่ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และป้องกันการกลับมาของอาการปวด การรักษานั้นมีตั้งแต่ การกินยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด และการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นกับแต่ละบุคคลที่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้ที่เป็นทุกๆคนต้องเข้าใจว่า อาการนี้จะไม่หายขาด เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากการทำงาน ทุกคนจึงควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องและการดูแลกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี  อาการดังกล่าวก็จะหายไปได้          

"เพื่อไม่ ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น ฝึกการยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา หรือการยืดกล้ามเนื้อข้างลำตัวและหลังต้นขา เช่น ประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านบน จากนั้นค่อยๆโยกลำตัวไปด้านข้างจนเอวรู้สึกตึง ทำสลับอีกข้าง และรู้จักที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ในเบื้องต้นอาจจะเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่าง ถูกวิธีต่อไป"