ข้อเข่าเสื่อมรู้ทันรักษาได้

    ข้อเข่าเสื่อมรู้ทันรักษาได้

    โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ โดยข้อเข่ามีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงเด่น ชัด คือ บริเวณกระดูกอ่อนผิวข้อ แต่จริงๆเเล้วการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นนั้นสามารถเป็นไปได้ทุกส่วนของข้อ เช่น กล้ามเนื้อรอบๆข้อกระดูกและเส้นเอ็นรอบๆข้อ การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ เเละต่อเนื่อง

    เริ่มเเรกมีอาการปวดที่ หัวเข่าเฉพาะเมื่อมีอาการตึงฝืดในตอนเช้าหรือช่วงที่ไม่ได้ใช้งานข้อเข่า เป็นเวลานานๆ มีเสียงของกระดูกขบกันเวลาขยับข้อเข่า โดยมักเริ่มเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน ต่อมาจะมีอาการปวดทั้งสองข้าง เเละถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการปวด แม้กระทั่งตอนพักหรือช่วงที่ไม่ได้ใช้งานและทำให้เกิดข้อพิการผิดรูปได้ จนนำไปสู่การผ่าตัดในที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน อายุที่มากขึ้น การใช้งานมาก เช่น ต้องง้อเข่าเป็นเวลานานๆ การได้รับการบาดเจ็บที่ข้อเข่ามาก่อนไม่ว่าจะเป็นที่กระดูกหรือกล้ามเนื้อ การได้รับการผ่าตัดที่เข่ามาก่อน โรคข้ออักเสบ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเก๊าท์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดการกระตุ้นของข้อเข้าเสื่อมมากขึ้น

    วัตถุประสงค์ของการรักษา

    1. ลดอาการปวดของข้อเข่า
    2. ทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเป็นตามปกติ
    3. ชะลอความเสื่อมของข้อเเละลดความพิการ


    เเนวทางการรักษา
    1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเเละญาติ การดูเเลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมออกกำลังกาย การลดน้ำหนักและการใช้เครื่องพยุงต่างๆ
    2. 
    การรักษา โดยทางยา เช่น การใช้ยาเพื่อลดอาการปวดพาราเซตามอล ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาเสริมสร้างเเละบำรุงกระดูกอ่อนน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเทียม รวมไปถึงการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
    3. 
    การผ่าตัด การส่องกล้อง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การตัดเปลี่ยนแกนกระดูก


    ถนอมหัวเข่าที่บ้านเราทำได้ !!!
    ข้อเข่าเป็นข้อต่อ ที่ต้องทนแบกรับน้ำหนักของเราเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่งยองๆ หรือแม้แต่นั่งงอเข่าเป็นเวลานานเช่น ขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดแรงกระทำกับเข่าทั้งสิ้น ทำให้ข้อเข่าของเรานั้นต้องทนแบกรับแรงกระทำค่อนข้างมาก ทำให้โครงสร้างของข้อเกิดการสึกหรอไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถทนรับน้ำหนักที่เข่าได้อีก ยิ่งถ้าปล่อยไว้นานโดยไม่ทะนุถนอม เข่าก็จะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ ดังนั้นการดูแลข้อเข่าด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่าให้อยู่กับเราไปนานๆ


    หลักการดูแล

    • ลด น้ำหนักตัว เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนักลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่ง น้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ ก็จะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของเข่าก็จะช้าลงด้วย
    • ท่า นั่งควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆหรือนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งดังกล่าวจะทำให้ ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
    • เวลา เข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูต้องกลาง วางไว้เหนือคอห่าน ไม่ควรนั่งยองๆ เพราะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ เลือดจะไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี ทำให้ขาชา และมีอาการอ่อนแรงได้ ควรทำที่จับยึดไว้บริเวณด้านข้างโถนั่งหรือใช้เชือก ห้อยจากเพดานเหนือโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือลุกขึ้นยืน
    • นอน บนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้ว ฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าตลอดเวลา จะนอนหรือลุกขึ้นทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมาก
    • หลีก เลี่ยงการขึ้นลงบันไดหรือ นั่งในท่าเดียวนานๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือขยับเหยียด-งอข้อเข่า เป็นช่วงๆ การยืน ควรยืนตรงให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่าๆกัน ไม่ควรยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด และข้อเข่าโก่งผิดรูปได้
    • การ เดิน ควรเดินบนพื้นราบใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือแบบที่ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้า เดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
    • ควร ใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดินโดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนเข่า และช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม แต่ก็มีผู้ป่วยที่ไม่ยอมใช้ไม้เท้าโดยบอกว่ารู้สึกอายที่ต้องถือไม้เท้า และไม่สะดวก ทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหกล้ม สำหรับวิธีการถือไม้เท้านั้น ถ้าปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้าง ให้ถือในมือข้างที่ถนัด
    • บริหาร กล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีขึ้นเวลายืนหรือเดิน การออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่ามากนัก เช่น การเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น
    © Your Company. All Rights Reserved.

    Please publish modules in offcanvas position.

    Free Joomla templates by L.THEME