ปัญหาเด็กติดเกม

    ปัญหาเด็กติดเกม

    ในปัจจุบันปัญหาเด็กติดเกมพบได้มากขึ้นทั่วโลก และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองพาบุตรหลานมาพบแพทย์ด้วย ปัญหาการเรียนหรือปัญหาพฤติกรรม เนื่องจากการเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, แทบเลต และเครื่องเล่นวีดีโอเกม เป็นต้น โดยปัญหาเด็กติดเกมสามารถพบได้ตั้งแต่วัยประถมจนถึงอุดมศึกษา และมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในเด็กเล็กๆ

    การ วิจัยเด็กติดเกมยังไม่มีเกณฑ์วินิจฉัยที่แน่ชัด แต่พฤติกรรมจะคล้ายกับผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด โดยเด็กจะมีความรู้สึกเพลิดเพลินใจที่ได้เล่นเกม และมีความพึงพอใจ เมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม แต่ต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีก จึงรู้สึกพึงพอใจเท่าเดิม จนไม่สามารถควบคุมระยะเวลาได้ มีความหงุดหงิดกระวนกระวายเมื่อไม่ได้เล่นเกมมีความหมกมุ่นกับเกมอย่างมาก เช่น หมกมุ่นเกี่ยวกับการเล่นเกมที่ผ่านมา คิดวางแผนเพื่อเอาชนะครั้งถัดไป จนพฤติกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อตนเองหลายด้าน ทั้งการเรียน การทำงาน สุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว

    สาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกมนั้น เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เมื่อเด็กได้เล่นเกม จะมีการหลั่งของสารเคมีในสมองที่ชื่อ โดปามีน (Dopamine) มากขึ้น ทำให้รู้สึกมีความสุขความเพลิดเพลินจากการเล่นเกม และเมื่อไม่ได้เล่น เด็กที่ติดเกมจะขาดความเพลิดเพลินในกิจกรรมอื่นๆ

    การป้องกันปัญหาเด็กติดเกม สามารถทำได้ดังนี้
    1.ครอบ ครัวควรให้คำแนะนำความรัก ความอบอุ่น การอบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เด็ก ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย การให้คำชมและการลงโทษที่เหมาะสม รวมถึงความร่วมมือร่วมใจกันของคนในครอบครัวในการอบรมสั่งสอน ไม่ขัดแย้งกัน
    2. การเล่นเกมและการดูโทรทัศน์เป็นกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้ เพียงแต่ผู้ปกครองควรเลือกชนิดของเกมและรายการที่เหมาะสมกับวัย และคอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กอาจจะมีพฤติกรรมเลียนแบบจากเกมหรือโทรทัศน์ เพราะคิดว่าเป็นพฤติกรรมที่สามารถทำได้ ดังเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างประเทศ ที่เด็กเอาปืนมายิงผู้อื่นโดยเลียนแบบพฤติกรรมจากเกม
    3.ครอบครัวควรส่งเสริมกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือไปจากการเล่นเกม เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ การอ่านหนังสือ และการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
    4.การซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ใช้ในบ้าน ควรกำหนดกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจนตั้งแต่แรก เช่น จำกัดเวลาการใช้และเงื่อนไขต่างๆโดยชี้แจงถึงเหตุผลจนเด็กเข้าใจและยอมรับ หากทำผิดกติกาจะมีบทลงโทษอย่างไร และควรตั้งไว้เป็นสมบัติส่วนกลางของครอบครัว ไม่ให้เด็กยึดครองไว้คนเดียว เพื่อที่เราจะได้คอยสอดส่องดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กได้ และส่งเสริมให้ใช้ในการค้นคว้าเรียนรู้ ทำรายงานมากกว่าที่จะใช้ในการเล่นเกม

    “ การป้องกันเป็นวิธีการที่ช่วยลดการเกิดปัญหาเด็กติดเกม รวมถึงปัญหาอื่นๆที่เกิดตามมา ต้องอาศัยความร่วมมือของครอบครัวและสังคมที่เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เด็กและเยาวชนของเราจะได้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นอนาคตของประเทศต่อไป "

    © Your Company. All Rights Reserved.

    Please publish modules in offcanvas position.

    Free Joomla templates by L.THEME